ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล

คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์

ตรวจสอบรายชื่อนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกที่สอบเปิดเล่มแล้ว

 

การศึกษา

  • นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยรามคำเเหง
  • นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เนติบัณฑิต

ประวัติการทำงาน

  • อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. 2546 - กันยายน 2547)
  • รองคณบดี และกรรมการวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (พ.ศ. 2536 - 2546)
  • กรรมการ (ฝ่ายกฎหมาย) และเลขาธิการ สมาคมธุรกิจแฟรนไชส์ และเอสเอ็มอีไทย (พ.ศ. 2547 - 2549)
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัทอลงกรณ์กฎหมายธุรกิจ จำกัด (พ.ศ.2532-2549)

วิทยากรพิเศษ

  • โครงการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐ ITC/UNCTAD/ WTO/คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โครงการอบรมผู้ประกอบการในธุรกิจแฟรนไชส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (ระดับ B2B, Intermediate, Advance)
  • โครงการอบรมผู้สนใจซื้อสิทธิแฟรนไชส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • โครงการอบรมผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยสู่สากล กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • โครงการประกาศนียบัตรกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม

ผลงานทางวิชาการ

วิทยานิพนธ์

  • มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการรวมตัวกันกำหนดราคาสินค้า ศึกษาเฉพาะกรณีการรวมตัวกันกำหนดราคาสินค้าในแนวนอน,วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2530 (วิทยานิพนธ์ดีเด่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2530)
  • ระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมพืช,วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2550

หนังสือ

  • คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กองบริการคำสอนและสิ่งพิมพ์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, พ.ศ.2552
  • รวมหมายเหตุท้ายคำพิพากษาฎีกา กฎหมายลักษณะพยาน.สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, (พิมพ์ครั้งที่ 2), พ.ศ. 2546.
  • คำอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, พ.ศ. 2545.
  • พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 แนวคิดและหลักการ. สำนักพิมพ์แว่นแก้ว, พ.ศ. 2545 (แต่งร่วมกับ รศ.ดร.สุมาลี วงษ์วิฑิต)
  • พลิกกฎหมายเป็นกลยุทธ์ในธุรกิจแฟรนไชส์.บริษัท เอ.อาร์.บิสสิเนส จำกัด, พ.ศ. 2546

บทความ

  • “พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542: ผลกระทบต่อธุรกิจแฟรนไชส์.” วารสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.(สิงหาคม 2543).
  • “โจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) ที่มา ปัญหา และแนวทางสำหรับประเทศไทยตามกรอบความตกลงทริปส์” วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2546).
  • “ผลกระทบของความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาต่อฐานทรัพยากรพันธุกรรมพืชของประเทศไทย.” ใน สู่การปฏิรูปฐานทรัพยากร. จักรกฤษณ์ ควรพจน์ และคณะ บรรณาธิการ, กรุงเทพ: โครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร, พ.ศ.2546”
  • “กฎหมายเฉพาะ (sui generis) สำหรับการคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมพืช” วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2547)
  • “การเปิดเผยข้อมูลแหล่งที่มาของทรัพยากรพันธุกรรมพืชในคำขอสิทธิบัตรกับสิทธิเกษตรกร”, วารสารนิติศาสตร์. ฉบับบัณฑิตศึกษา (2550).
  • “การคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมพืชตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ในบริบทของข้อตกลงระหว่างประเทศ”, บทบัณฑิตย์ ฉบับที่ 64 ตอน 2 มิถุนายน 2551.
  • “สิทธิบัตรพันธุกรรมข้าวหอมมะลิ: ยุทธศาสตร์คุ้มครองพันธุ์ข้าวไทย” วารสารหอกฎหมาย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม 2553.
  • “ทางรอดของทรัพยากรชีวภาพไทย” วารสารประชาคมวิจัย ปีที่ 16 ฉบับที่ 92 กรกฎาคม-สิงหาคม 2553.
  • “สิทธิเกษตรกร: ผลกระทบจากร่างแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช” วารสารแก่นเกษตร ปีที่ 42 ฉบับที่ 2.
  • “หลักสุจริตในสัญญาแฟรนไชส์” วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2558.

ผลงานวิจัย

  • “ผลกระทบของข้อตกลงพหุภาคีขององค์การการค้าโลกต่อฐานทรัพยากรของประเทศไทย” สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2548.
  • “การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ในทรัพยากรพันธุกรรมพืช” โครงการหน่วยจัดการความรู้ด้านการค้าและสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์สากล สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2549.
  • “ข้อเสนอแนะทางกฎหมายเพื่อควบคุมการปนเปื้อนทางพันธุกรรม” สนับสนุนโดย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2550.
  • “ระบบเอกสารรับรองในกระบวนการแบ่งปันผลประโยชน์ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ” โครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ด้านความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม (MEAs Intelligent Unit), สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2550.
  • “ปัญหาการถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ” สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (หัวหน้าโครงการ-นักวิจัยร่วม) 2551.
  • “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพึ่งตนเองโดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น” สนับสนุนทุนวิจัยโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) (นักวิจัยร่วม) พ.ศ.2551
  • “การศึกษากฎหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น” สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (นักวิจัยร่วม) พ.ศ.2551.
  • “การวิเคราะห์ระบอบระหว่างประเทศว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและข้อเสนอสำหรับประเทศไทย” สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (หัวหน้าโครงการ-นักวิจัยร่วม) พ.ศ. 2552
  • “การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาบูดาเปสต์และผลกระทบ” สนับสนุนทุนวิจัยโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ (นักวิจัยร่วม) พ.ศ.2554.
  • “ผลกระทบของร่างแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ที่มีต่อสิทธิเกษตรกรและการแบ่งปันผลประโยชน์ในทรัพยากรชีวภาพ” สนับสนุนทุนวิจัยโดยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ.2556
  • “Intellectual Property Policies for Investment Promotion” Research Funding by Japan Institute for Promoting Invention and Innovation, 2014
  • “Intellectual Property Policies for Investment Promotion” (2nd Phase) Research Funding by Japan Institute for Promoting Invention and Innovation, 2015

ความเชี่ยวชาญพิเศษ

  • กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  • กฎหมายธุรกิจ
  • กฎหมายธุรกิจแฟรนไชส์
  • กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
  • กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
  • กฎหมายลักษณะพยาน
  • กฎหมายแข่งขันทางการค้า
  • กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช
  • กฎหมายระหว่างประเทศด้านทรัพยากรชีวภาพ