ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรภิรมย์ โกมลารชุน
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทางนิติศาสตร์

ตรวจสอบรายชื่อนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกที่สอบเปิดเล่มแล้ว

ประวัติส่วนตัว

การศึกษา

  • พ.ศ. 2556 Dr.iur. (Magna cum laude), Friedrich-Wilhelms-Universität Bonn (University of Bonn), Germany (วิทยานิพนธ์ เรื่อง “วัตถุแห่งคดีในคดีอาญา: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเยอรมันกับกฎหมายไทย”)
  • พ.ศ. 2552 LL.M. (Magna cum laude), Friedrich-Wilhelms-Universität Bonn (University of Bonn), Germany
  • พ.ศ. 2546 น.ม. (กฎหมายอาญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2543 น.บ.ท.
  • พ.ศ. 2542 น.บ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการทำงาน

  • สิงหาคม 2565 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทางนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
  • สิงหาคม 2565 - ปัจจุบัน อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธันวาคม 2547 - ปัจจุบัน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สิงหาคม 2557 - กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำผู้รับผิดชอบหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สิงหาคม 2563 - กรกฎาคม 2565 รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สิงหาคม 2559 - กรกฎาคม 2563 รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สิงหาคม 2557 - กรกฎาคม 2561 บรรณาธิการวารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • กุมภาพันธ์ 2558 - กรกฎาคม 2559 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • มิถุนายน 2557 – สิงหาคม 2559 คณะทำงานคลังสมองด้านสื่อสารการตลาด (Think Tank Team - TTT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • มิถุนายน 2560 – พฤษภาคม 2561 อนุกรรมการพิจารณาเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของประชาชน (ชื่อเดิม – อนุกรรมการตรวจสอบและติดตามกฎหมายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ) คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อกำกับการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน
  • ธันวาคม 2559 – พฤษภาคม 2560 อนุกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. .... คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
  • ธันวาคม 2558 – มีนาคม 2559 อนุกรรมการพิจารณาแนวทางการปฏิรูปการศึกษา และการบังคับใช้กฎหมาย คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
  • ตุลาคม 2558 – กรกฎาคม 2559 ผู้ช่วยดำเนินการประจำตัวกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (ศาสตราจารย์ ดร. อุดม รัฐอมฤต)

ภาระงานอื่น

  • กรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรและระดับคณะ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • กรรมการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2562 คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • กรรมการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต พ.ศ. 2559 คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

รางวัล

  • รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี สาขานิติศาสตร์ เรื่อง “การทุจริตเชิงนโยบาย: มาตรการในทางกฎหมายเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายในประเทศไทย” รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2562 (หัวหน้านักวิจัย: ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต)
  • รางวัลผลงานวิจัยเด่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี 2560 จากงานวิจัย เรื่อง การทุจริตเชิงนโยบาย: มาตรการในทางกฎหมายเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายในประเทศไทย” (หัวหน้านักวิจัย: ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต)
  • รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก สาขานิติศาสตร์ เรื่อง “การกระทำในทางกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา: ตามกฎหมายเยอรมันและกฎหมายไทย รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2558

ผลงานทางวิชาการ

งานสอน

  • วิชากฎหมายอาญาระหว่างประเทศ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชากฎหมายลักษณะพยาน หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายภาคพื้นยุโรป หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาชั้นสูง หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชาปัญหาชั้นสูงในกฎหมายอาญา หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชากฎหมายพยานชั้นสูง หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชาบัณฑิตสัมมนากฎหมายอาญา หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชากฎหมายอาญาเปรียบเทียบ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิชาระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

งานวิจัย

  • นักวิจัยในโครงการ เรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่นำมาสู่ความเชื่อใจของผู้จ้างงานและความสามารถที่สำคัญต่อการว่าจ้างงานผู้พ้นโทษ” ทุนสนับสนุนการวิจัยของ Thailand Insitute of Justice, พ.ศ. 2566 (หัวหน้านักวิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภรักษ์ สุริยันเกียรติแก้ว) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  • หัวหน้านักวิจัยในโครงการ เรื่อง “การจัดการความรู้และการพัฒนากลไกลการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรมในหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม” ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.), พ.ศ. 2564
  • นักวิจัยในโครงการ เรื่อง “การศึกษาความต้องการงานวิจัยและกลไกในการผลักดันงานวิจัยให้เกิดการใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรมและการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงงานวิจัยในระบบ ววน. กับผู้ใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม,” ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.), พ.ศ. 2563
  • นักวิจัยในโครงการวิจัย เรื่อง “โครงการประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองพยานและแนวทางการพัฒนางานคุ้มครองพยานของประเทศไทย,” ร่วมกับนักวิจัยจากสำนักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานคระกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.), พ.ศ. 2563
  • นักวิจัยในโครงการ “การพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต,” ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2563 (หัวหน้านักวิจัย: รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท)
  • นักวิจัยในโครงการ เรื่อง “การพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง,” ทุนสนับสนุนการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า, ธันวาคม 2562.
  • หัวหน้านักวิจัยในโครงการ “การพัฒนากฎหมายและมาตรการในการคุ้มครองพยานในคดีค้ามนุษย์,” ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), พ.ศ. 2562.
  • นักวิจัยในโครงการ เรื่อง “กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูลซึ่งบุคคลสื่อสารถึงกัน: ศึกษากฎหมายประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี,” ทุนสนับสนุนการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า, ธันวาคม 2561.
  • นักวิจัยในโครงการวิจัย เรื่อง “การติดตามและประเมินผลการบังคับใช้พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผ่านเครื่องมือการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย,” ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, ตุลาคม 2561. (หัวหน้านักวิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี วรภัทร์)
  • หัวหน้านักวิจัยในโครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาวิชากฎหมายและองค์กรวิชาชีพกฎหมายในต่างประเทศ”, ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.), พ.ศ. 2557.
  • นักวิจัยในโครงการวิจัย เรื่อง การทุจริตเชิงนโยบาย: มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายในประเทศไทย, ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), พ.ศ. 2556 (หัวหน้านักวิจัย: ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต)
  • นักวิจัยในโครงการวิจัย เรื่อง “โครงการติดตาม ประเมินผล และพัฒนารูปแบบ และแนวทางการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล” โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, พ.ศ. 2549 (หัวหน้านักวิจัย: ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร)
  • ผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการวิจัย เรื่อง “การปฏิรูประบบวินัย อุทธรณ์ และร้องทุกข์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ”, ทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานข้าราชการพลเรือน, พ.ศ. 2545 (หัวหน้านักวิจัย: ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต)

บทความ

  • บทความวิชาการ เรื่อง “ผู้กระทำความผิดหลายคน: ศึกษากรณีผู้ใช้และผู้ถูกใช้ขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวที่กฎหมายกำหนด” วารสารสุทธิปริทัศน์ ปีที่ 36 เล่มที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน 2565), น. 1 (TCI2)
  • บทความวิจัย เรื่อง “การพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง,” บทบัณฑิตย์ เล่มที่ 76 ตอน 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2563), น. 86 (TCI2)
  • บทความวิจัย เรื่อง “การพัฒนากฎหมายและมาตรการในการคุ้มครองพยานในคดีค้ามนุษย์” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 49, ฉบับที่ 3 (กันยายน 2563), น. 523. (TCI1) https://so05.tcithaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/240348/168043
  • บทความวิชาการ เรื่อง “ข้อถกเถียงทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการออนไลน์ในเยอรมนี,” 60 ปี อุดม รัฐอมฤต ชีวิตและมิตรภาพบนเส้นทางวิชาการ, โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2562.
  • บทความวิชาการ เรื่อง “ผลทางกฎหมายของการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์การนำสืบพยานหลักฐาน,” บทบัณฑิตย์ เล่มที่ 75 ตอน 3 (กรกฎาคม - กันยายน 2562), น.137-162. (TCI2) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/issue/view/17143
  • บทความวิชาการ เรื่อง “ทฤษฎีกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการบังคับทางอาญา: ศึกษาเฉพาะการควบคุม," วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2561), น.1 http://utcc2.utcc.ac.th/lawjournal/101/Law%20UTCC%2010_1.pdf (TCI1)
  • Should Non-Adversary be Adopted for Criminal Courts in Thailand?, Economics & Management Innovations (ICEMI) 1, 1 (2017), 299-301. https://www.topicsoneconom-bizmanagemt.com/images/ICEMI/ICEMI104.pdf
  • บทความวิชาการ เรื่อง “ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของการกระทำความผิดหลายฐานอันเกิดจากกรรมเดียว,” วารสารกฎหมาย ปีที่ 34 ฉบับ 2 กันยายน 2559,” น.15. (TCI2) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawchulajournal/issue/view/17127/4359
  • บทความวิจัย เรื่อง “การศึกษากฎหมายและวิชาชีพกฎหมาย,” วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559), น.30. (TCI1)
  • บทความวิชาการ เรื่อง “ทฤษฎีเป้าหมายกำหนดของ Prof. Dr. Hans Welzel,” วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – พฤศจิกายน 2557), น. 49.
  • บทความวิชาการ เรื่อง “วัตถุแห่งคดีในคดีอาญาคืออะไร?,” วารสารกระบวนการยุติธรรม, ปีที่ 7 เล่มที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557), น. 1. (TCI2)
  • บทความวิชาการ เรื่อง “ว่าด้วยการกระทำความผิดหลายบทหลายกระทงตามความเห็นของศาลฎีกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักเจตนาเดียว,” วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 (มีนาคม – พฤษภาคม 2556), น. 93.
  • บทความวิชาการ เรื่อง “ความรับผิดทางอาญาในการทำให้เกิดขึ้นซึ่งองค์ประกอบภายนอก,” วารสารกฎหมายธุรกิจบัณฑิตย์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2551), น. 23.

บทความแปล

  • ว่าด้วยตรรกะแห่งโครงสร้างความผิดอาญา, วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2556), น. 17, แปลจาก Zur Logik des Verbrechenssaufbau ในหนังสือรวมบทความเรื่อง Herausforderung an das Recht: Alte Antworte auf neue Fragen? (ความท้าทายต่อกฎหมาย: คำตอบเดิมต่อคำถามใหม่?) รวมรวมโดย Herald Koch (สำนักพิมพ์ Berlin-Verl. Spitz, กรุงเบอร์ลิน, 1997).
  • Euthanasia เป็นความผิดอาญาในประเทศไทยหรือ?: ศึกษาจากมุมมองของกฎหมายเปรียบเทียบ, วารสารกฎหมายนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน – สิงหาคม 2555), น. 89, แปลจาก Ist Euthanasia in Thailand wirklich strafbar?: Eine rechtsvergleichende Ansicht โดย Ines Fernandes Godinho, Laura Meyer Lux.