เกี่ยวกับคณะ
ประวัติความเป็นมาของคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านนิติศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่า 42 ปี หลักสูตรของคณะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความทันสมัยและสอดคล้องต่อความต้องการของสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกในหลักวิชาชีพกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะสามารถเข้าทำงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเอกชน ตลอดจนการประกอบอาชีพอิสระ ปี พ.ศ. 2552 มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ได้อนุญาตให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ใช้นาม “ปรีดี พนมยงค์” ต่อท้ายชื่อสถาบันเป็น “คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์” เพื่อเป็นการรำลึกถึงความผูกพันระหว่างศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ กับศาสตราจารย์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยและเป็นอธิการบดีคนแรก
ปณิธานของคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
นักกฎหมายต้องถึงพร้อมซึ่งคุณธรรม
คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านนิติศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่า 42 ปี หลักสูตรของคณะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความทันสมัยและสอดคล้องต่อความต้องการของสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกในหลักวิชาชีพกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะสามารถเข้าทำงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเอกชน ตลอดจนการประกอบอาชีพอิสระ
"นักกฎหมายต้องถึงพร้อมซึ่งคุณธรรม"
ข้อกำหนดคุณลักษณะนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
- นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนยมยงค์ จะต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต
- นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนยมยงค์ จะต้องเป็นผู้ที่มีวินัย เคารพ และปฏิบัติตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนยมยงค์ จะต้องเป็นผู้ธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทย
- นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนยมยงค์ จะต้องความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ และให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโสกว่า
- นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนยมยงค์ จะต้องให้ความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมมกกว่าประโยชน์ส่วนตน ช่วยเหลือสังคม
จรรยาบรรณ
ความหมาย
จรรยาบรรณ เป็นคำที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นคำแทนลักษณะการดำเนินงานของบุคคลที่ถูกต้องความ หมายของคำว่าจรรยาบรรณนี้ มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
- จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานของความประพฤติ และการใช้ดุลพินิจทางศีลธรรมที่ว่าด้วยการกระทำของบุคคล บริษัท องค์กร ว่าถูกหรือผิด สมควรหรือไม่สมควร
- จรรยาบรรณ หมายถึง การศึกษาและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการตัดสินใจภายในกรอบของมาตรฐานทาง ศีลธรรม หรือการศึกษาว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่ ถูก หรือ ดี สมควรหรือไม่สมควน
- จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสมแสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพที่ กลุ่มบุคคล แต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลักเพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชีพตน และ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 จรรยาบรรณ หมายถึง “ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบ อาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้” จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและ จริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ ซึ่งเรียกว่า จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ (Professional code of ethics) เมื่อประพฤติแล้วจะช่วยรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงทั้งของวิชาชีพ และฐานะของสมาชิก ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากสังคมและความไว้วางใจจากสังคม
ความสำคัญของจรรยาบรรณ
ในแต่ละองค์กรหากมีการกำหนดจรรยาบรรณไว้อย่างชัดเจนแล้ว จรรยาบรรณนี้จะเป็นเครื่องมือช่วยให้การดำเนินงานร่วมกันของ บุคคลในองค์กรหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินงานร่วมกันได้อย่างปราศจาก ปัญหา จึงอาจกล่าวได้ว่า จรรยาบรรณมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานในองค์กร ดังที่กรมศาสนา ได้ให้ไว้ดังนี้
ความสำคัญของจรรยาบรรณ กรมศาสนา (2522 : 68) ได้ให้สาระสำคัญดังนี้
- ช่วยควบคุมมาตรฐาน ประกันคุณภาพ และปริมาณที่ถูกต้องในการปฏิบัติงาน และการดำเนินงานขององค์กร
- ช่วยควบคุมจริยธรรมของบุคคลในองค์กรให้เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม
- ช่วยส่งเสริมมาตรฐาน คุณภาพ และปริมาณของผลการปฏิบัติงานขององค์กร จัดทำขึ้นให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่เสมอ
- ช่วยส่งเสริมจริยธรรมของบุคคลในองค์กร และดำเนินการให้มีความเมตตา กรุณา เห็นอกเห็นใจต่อผู้ร่วมงานในองค์กร
- ช่วยลดการเอารัดเอาเปรียบ การฉ้อฉล ความเห็นแก่ตัว ตลอดจนความมักง่าย ใจแคบไม่เคยเสียสละ
- ช่วยเน้นให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในภาพพจน์ที่ดีขององค์กรที่มีจริยธรรม
จรรยาบรรณของอาจารย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ตั้งปณิธานในการผลิตบัณฑิตว่า “บัณฑิตต้องถึงพร้อมทั้งคุณธรรมและคุณวุฒิ” ในฐานะของอาจารย์ผู้สอนมีหน้าที่บ่มเพาะขัดเกลาศิษย์ตามปณิธานที่กำหนด หน้าที่สำคัญของอาจารย์ทุกคนคือจะต้องปฏิบัติงานอย่างมีจรรยาบรรณ จึงเห็นสมควรประกาศจรรยาบรรณของอาจารย์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เพื่อให้ อาจารย์ได้ถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของศิษย์ ของตัวอาจารย์เอง และสังคมโดยรวม ดังต่อไปนี้
- อาจารย์พึงมีคุณธรรมและดำรงตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคลทั่วไปทั้งด้านส่วนตัวและการงาน
- อาจารย์พึงสอนศิษย์อย่างเต็มความสารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สอนสาระที่ทันสมัยตามความก้าวหน้าทางวิชาการและใช้วิธีการสอนที่เน้นนัก ศึกษาเป็นสำคัญ
- อาจารย์พึงสอนและดูแลศิษย์ด้วยความยุติธรรม
- อาจารย์พึงดูแลให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และปฏิบัติต่อศิษย์อย่างมีเมตตาและเป็นกัลยาณมิตร
- อาจารย์พึงหมั่นศึกษา ค้นคว้า ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการให้ทันสมัยอย่าต่อเนื่องตลอดเวลา
- อาจารย์พึงเป็นนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณนักวิจัย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยที่ถูกต้องและเหมาะสม และรายงานผลการวิจัยอย่างถูกต้องตามข้อเท็จจริงและหลักวิชาการ
- อาจารย์พึงปฏิบัติงานอย่างมีเสรีภาพทางวิชาการ โดยไม่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลหรือผลประโยชน์ใด
- อาจารย์พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ เสียสละ อดทน ซื่อสัตย์ สุจริต
- อาจารย์พึงปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานเยี่ยงกัลยาณมิตร ช่วยเหลือ ส่งเสริม และเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน สร้างและส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ และมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย
- อาจารย์พึงปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อผู้อื่น หมู่คณะ มหาวิทยาลัย สังคม และ ประเทศชาติ
จรรยาบรรณของบุคลากร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- ซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม หมายความว่า
- เป็นผู้มีศีลธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตสำนึกของพลเมืองดี และประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นบุคลากร
- ปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ละเว้นการรับทรัพย์หรือประโยชน์อื่นใดอันมิชอบ ยึดถือประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน
- ไม่ใช่ชื่อและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือหมู่คณะโดยมิชอบ
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วนความรับผิดชอบ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ หมายความว่า
- รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและสามารถตรวจสอบได้
- ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่แสวงหาผลประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใด ๆ จากนักศึกษา บุคคลทั่วไป หรือสังคม
- มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน หมายความว่า
- มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ
- มุ่งมั่นพยายามเพื่อความสำเร็จของงานตามเป้าหมาย และที่ได้รับมอบหมาย
- พร้อมปรับตัวเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง หมายความว่า
- ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยพึงยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ความชอบธรรม และหลักวิชาการ โดยไม่โอนอ่อนต่ออิทธิพลใด ๆ
- ส่งเสริมและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม หมายความว่า
- พึงปฏิบัติงานด้วยความเสมอภาค และปราศจากอคติ
- บริการ ข้อมูลข่าวสารที่สามารถเปิดเผยได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงต่อนักศึกษาและผู้รับบริการด้วยความเต็มใจและรวด เร็วทันเวลาตามที่หน่วยงานกำหนด
- ไม่ใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรมต่อนักศึกษาและผู้รับบริการ หมายความว่า
- ละเว้นการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยมิชอบจากนักศึกษาและผู้รับบริการ
- ไม่พึงแสวงผลประโยชน์ใด ๆ รวมทั้งความนิยมส่วนตนจากนักศึกษา
- ละเว้น การแนะนำนักศึกษาและผู้รับบริการให้ดำเนินการใด ๆ อันผิดไปจากหลักศีลธรรม กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้
โครงสร้างคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
หน่วยงานในคณะ
- ศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย (Center of Legal Counseling : CELEC)
คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้จัดตั้งสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2529 เพื่อให้เป็นการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและการให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านกฎหมายแก่ประชาชน
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2559 คณะกรรมการวิชาการคณะฯ เห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์ให้คำปรึกษา ทางกฎหมาย Center of Legal Counseling (CeLeC)” เพื่อให้สอดรับกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ โดย ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีปัจจุบัน ได้มีคำสั่งที่ 0102/1009 ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2559
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางนิติศาสตร์
เป็นหน่วยงานในสังกัดของคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ทางสาขานิติศาสตร์ สนับสนุนงานวิจัยและให้บริการทางวิชาการ แก่สังคม
- สมาคมนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
เรียกและเขียนชื่อย่อในภาษาไทยว่า ส.น.มธบ. และใช้ชื่อภาษาอังกฤษ Dhurakij pundit University Law Association ใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษ DPU.L.A. เครื่องหมายของสมาคม เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพระสิทธิธาดา มีตราชูตรงกลางจารึกชื่อสมาคมอยู่ด้านล่าง สำนักงานตั้งอยู่ที่ คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพมหานคร
- คณะกรรมการนักศึกษา คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษารู้รักสามัคคีในหมู่คณะรู้จักการทำงาน ร่วมกัน อันเป็นการสร้างความ สัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และกับอาจารย์ กอปรกับเป็นการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่จะเพิ่มพูน ประสบการณ์ให้กับนักศึกษามากยิ่งขึ้น
การบริหารจัดการความรู้
1. หัวข้อ “การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์” โดย รองศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
2. หัวข้อ “ทำอย่างไรถึงจะได้รับรองคุณภาพการสอน” โดย ผศ.ดร.จิรศักดิ์ รอดจันทร์
3. หัวข้อ "การศึกษาวิชากฎหมายในประเทศเยอรมนี" โดย ดร.กรรภิรมย์ โกมลาชุน
4. หัวข้อ "งานวิจัยของคณะนิติศาสตร์" โดย อาจารย์ จิรวุฒิ ลิปิพันธ์
5. โครงการเสริมสร้างความเข้มเเข็งสู่ชุมชน (OTOP) จังหวัดสระบุรี" โดย อาจารย์ศรีสุรักษ์ สีวันนา
6. "ผลการจัดประชุมสัมมนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ เรื่อง สิ่งจูงใจให้นักศึกษาอยากเป็น" โดย อาจารย์ ดร.กรรภิรมย์ โกมราลชุน
รายละเอียดและหลักเกณฑ์การตีพิมพ์บทความลงวารสารคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
- บทความที่เขียนต้องเป็นไปตามรูปแบบวารสารคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- บทความที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ จะต้องเป็นบทความที่มีลักษณะเป็นบทความทางวิชาการนิติศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น ประเภท
- บทความทางวิชาการในเชิงทฤษฎีกฎหมาย หรือในเชิงปฏิบัติ หรือในเชิงผสม
- บทความวิจัยที่มีการนำเสนอประเด็นปัญหาและสภาพปัญหา ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ หรือในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ และเสนอผลวิจัยพร้อมข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
- บทปริทรรศน์หนังสือทางกฎหมายหรือปกิณกะ
- บทความต้องใช้ตัวอักษรแบบ Browaillia New ขนาด 16 โดยมีเนื้อหาในบทความประมาณ 10-20 หน้า
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
- บทความที่ผู้เขียนเสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ตามขั้นตอนที่กองบรรณาธิการวารสารคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กำหนดไว้
- หากกองบรรณาธิการตรวจพบข้อผิดพลาด หรือความไม่สมบูรณ์ในรูปแบบของบทความ บทความนั้นจะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียน เพื่อทำการแก้ไขบทความ ในกรณีที่จัดเตรียมถูกต้องตามระเบียบการตีพิมพ์และมีความสมบูรณ์ของรูปแบบและถูกส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาคุณค่าและความสมบูรณ์ของเนื้อหาบทความ ดังกล่าวต่อไป
- บทความที่ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความแล้ว หากไม่สามารถตีพิมพ์ได้ทันในฉบับปัจจุบันแล้ว กองบรรณาธิการจะสอบถามไปยังผู้เขียนเพื่อเก็บไว้ตีพิมพ์ในฉบับต่อไป โดยพิจารณาตามลำดับของการส่งบทความ หากผู้เขียนไม่อนุญาต กองบรรณาธิการจะส่งคืนบทความดังกล่าวไปยังผู้เขียน
- ค่าตอบแทนในการเขียนบทความลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อัตราค่าตอบแทนบทความละ 2,000 บาท จ่ายให้เมื่อบทความนั้นได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ
- ผู้เขียนสามารถจัดส่งบทความมายังกองบรรณาธิการวารสารคณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เลขที่ 110/1-4 ถนนประชาชื่น เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-954-7300-29 ต่อ 713 หรือจัดส่งเป็น ไฟล์ทางอีเมล์พร้อม Scan แบบตอบรับมายัง [email protected]โทรสาร 02-954-7353
ดาวน์โหลด-->> แบบตอบรับการเขียนบทความตีพิมพ์
รายงานผลการประเมินคุณภาพ
วิสัยทัศน์
“มุ่งสร้างผู้นำด้านกฎหมายที่มีคุณภาพและคุณธรรมเป็นเลิศ ควบคู่ไปกับบูรณาการนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้กฎหมายให้ก้าวทันและก้าวล้ำในโลกแห่งความเป็นจริงและอนาคต”
Vision
“To develop best quality legal leaders with merit together with integrating legal knowledge innovation sharing to the public to meet the demand of real-world problems and to be well-prepared for the future”